รวมความต่างของพนักงาน In house และ พนักงาน Outsource
29 Apr 2024
2389 views
รวมความต่างของพนักงาน In house และ พนักงาน Outsource
ปัจจุบันธุรกิจและองค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากขึ้นเพราะการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวกลางช่วยในเรื่องของการทำงาน การจัดการ รวมไปถึงระบบปฏิบัติการภายในองค์กรก็ต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้องค์กรนั้นพัฒนาต่อไปได้และนอกเหนือจากเทคโนโลยีแล้วพนักงานที่ดูแลระบบไอทีหรือสารสนเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่องค์กรนั้นให้ความสำคัญ การจ้างพนักงานไอทีนั้นอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายแต่ความจริงแล้วนั้น การจ้างงานที่เป็นตำแหน่งเฉพาะด้านอย่างพนักงานไอทีถือว่าเป็นงานที่หนักใจของฝ่ายบุคคลกันเลยทีเดียว และนั้นเป็นสาเหตุว่าทำไมปัจจุบันองค์กรใหญ่ถึงชอบใช้บริการ Outsource ในบทความนี้จึงมารวบรวมความต่างของพนักงาน In house และพนักงาน Outsource
ในบทความนี้เราจะมาลงดีเทลกันว่าความเหมือนและความต่างของพนักงานไอทีทั้งในรูปแบบงานประจำ งาน Outsource รวมไปถึงสวัสดิการต่างๆ ที่พนักงานควรได้รับมีสวัสดิการอะไรบ้าง ที่บริษัทไอทีมอบให้แก่พนักงาน ทั้งในรูปแบบ Outsource หรือ พนักงานประจำทั้งนี้สวัสดิการสามารถแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทเรามาเริ่มกันที่
สวัสดิการสำหรับพนักงาน Outsource
-
เงินเดือนและค่าตอบแทน
มีการจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาที่เป็นที่ตกลงระหว่างบริษัทและบุคคลที่ให้บริการ Outsource แต่จำนวนค่าตอบที่ได้จะมากกว่างานประจำ
-
โบนัส
บางบริษัทอาจมีโบนัสเพิ่มเติมตามความสำเร็จในการทำงานหรืออาจจะมีสวัสดิการอื่นๆมาเพิ่มเติม
-
ประกันสุขภาพ
บริษัทมีแผนประกันสุขภาพสำหรับพนักงาน Outsource และมีการจัดอีเวนต์สุขภาพให้เลยแบบที่พนักงาน Outsource ไม่ต้องเสียเวลาไปโรงพยาบาลเอง
-
วันหยุด
จำนวนวันหยุดพักร้อนและวันหยุดพิเศษจะเป็นไปตามรูปแบบของบริษัทโดยส่วนใหญ่จะตามธนาคารแห่งชาติ
-
การฝึกอบรม
บริษัท Outsource มีโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ของพนักงานอยู่เสมอ
-
กิจกรรมสันทนาการ
กิจกรรมทีมและกิจกรรมสันทนาการเพื่อสร้างสัมพันธ์ทีมและสนุกสนาน
-
สวัสดิการอื่นๆจากพาร์ตเนอร์ธุรกิจ
บริษัท Outsource จะมีบริษัทพาร์ตเนอร์ใหญ่ๆที่สามารถมีมอบสิทธิพิเศษต่างๆให้กับพนักงานของเขาได้ เช่น สวัสดิการกู้บ้าน สวัสดิการกองทุน สวัสดิการอื่นๆที่แตกต่างกันไป
สวัสดิการสำหรับพนักงานประจำ
-
เงินเดือนและค่าตอบแทน
มีการจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนตามตำแหน่งงานและประสบการณ์โบนัสและสิทธิประโยชน์ โปรแกรมโบนัสที่เชื่อมโยงกับผลงานและประสบการณ์ทำงาน
-
ประกันสุขภาพ
บางบริษัทมีแผนประกันสุขภาพสำหรับพนักงานและครอบครัว
-
ประกันชีวิต
บริษัทอาจมีการให้ประกันชีวิตในกรณีฉุกเฉินหรือเหตุผลที่กำหนด.
-
การลาและวันหยุด
บริษัทมักมีนโยบายการลาและวันหยุดที่มาตรฐาน
ทั้งนี้การที่เราเอาสวัสดิการที่ต้องได้รับมาเปรียบเทียบกันแล้วจะพบทั้งข้อดีและข้อที่แตกต่างของการทำงานในสายงานเดียวกันแต่คนละรูปแบบจะช่วยให้คนที่กำลังตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
รวมตำแหน่งงานไอทีที่นิยมทำงานกับบริษัท Outsource
พนักงาน ไอทีที่ร่วมงานกับบริษัท Outsource นั้นจะมีตำแหน่งงานที่หลากหลายและน่าสนใจ โดยบริษัท Outsource มักจะให้บริการด้านไอทีแก่ลูกค้าภายนอก ดังนั้นตำแหน่งงานที่มีอยู่อาจจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละองค์กรและนี่คือตำแหน่งงานที่นิยมทำงานกับบริษัท Outsource ในวงการไอที
-
Software Developer/Engineer: นักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นคนทำงานกับโปรแกรมและแอปพลิเคชันต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า
-
Quality Assurance (QA) Engineer: ผู้ทดสอบคุณภาพของซอฟต์แวร์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและประสิทธิภาพ
-
System Administrator: ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายในองค์กรหรือบริษัท
-
Network Engineer: นักพัฒนาและดูแลระบบเครือข่ายเพื่อให้บริการที่เสถียรและปลอดภัย
-
Database Administrator: ผู้ดูแลฐานข้อมูลเพื่อรักษาข้อมูลและประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูล
-
IT Project Manager: ผู้จัดการโครงการที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการโปรเจกต์ไอที
-
Technical Support Specialist: ผู้ให้บริการสนับสนุนทางเทคนิคแก่ลูกค้าหรือพนักงานภายใน
-
Cybersecurity Analyst: นักวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยที่ดูแลและป้องกันระบบไอทีจากการโจมตี
-
Data Analyst: นักวิเคราะห์ข้อมูลที่ดูแลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ
-
DevOps Engineer: ผู้ทำงานในส่วนของการพัฒนาและดูแลระบบที่ใช้เทคโนโลยี DevOps
การทำงานกับบริษัท Outsource นั้นทำให้พนักงานมีโอกาสในการทำงานกับให้หลายๆ โปรเจกต์รวมถึงองค์กรหรืออุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ทำงานได้ศึกษาและพัฒนาทักษะทางวิชาชีพได้มากมาย
ในปัจจุบันการหางานทั้งในรูปแบบของ Outsource หรือ งานประจำ นิยมที่จะใช้บริษัทจัดหาพนักงานที่เป็นบริการ IT Outsource ในการหางานให้เพราะจะได้มีโอกาสในการร่วมงานกับองค์กรธุรกิจชั้นนำ
สรุปได้ว่าทั้งหมดนี้คือความแตกต่างของพนักงานตำแหน่งไอทีทั้งในรูปแบบการจ้างแบบ Outsource และงานประจำที่ AAC สรุปมาให้แบบม้วนเดียวจบเข้าใจทุกความต่าง